วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

ภาพโดย
กลุ่ม KM SYSTEM section 005
   เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 954260 KM SYSTEM

กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจอีเล็กทรอนนิกส์

ธุรกิจออนไลน์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่ดีมีจริยธรรม และ ผู้ประกอบการที่หวังเพียงผลกำไร แม้กระทั่งผู้บริโภคเองก็มีการใช้เทคนิคกลยุทธ์หรือหากทุกฝ่ายดำเนินการด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือความไม่ถูกต้องในการดำเนินธุรกรรม จำเป็นต้องมีกฎ ระเบียบ เพื่อเป็นกติกาให้ทุกฝ่ายปฏิบัติอย่างเป็นธรรมส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

 กฎ ระเบียบธุรกรรมทางออนไลน์

- กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์กิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ (ที่ว่าการเขต กทม / อบต / เทศบาล / เมืองพัทยา )

- กฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการตลาดแบบตรง ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนทำการค้า
- กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ห้ามมิให้ปฏิเสธในการมีผลผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูล อีเล็กทรอนิกส์หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครอบคลุมถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการ หรือแม้แต่ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่มีหลักการเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง และกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม กฎ ระเบียบการประกอบธุรกิจทั่วไป
- ประมวลกฎหมายอาญา กำกับดูแลการประกอบการที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อโกง หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ที่หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กำกับดูแลการโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค มีเจตนาก่อให้เกิดการเข้าใจผิด ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผล ประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน


     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ

  • มีรูปแบบอะไรบ้าง

ปัจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้
9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. การฟอกเงิน
6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง


ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรงในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตการสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายการยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้


อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252Aการประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้ แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

ความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านการประกอบธุรกิจด้านออนไลท์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยความในพรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 นั้นได้ระบุความผิดไว้ดังนี้
1.มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มีความหมายว่าถ้าเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราได้มีการแอบเข้าไปในระบบของผู้อื่นถือเป็นความผิด
2.มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง : ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง   ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี   หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   มีความหมายว่าแอบทราบถึงรหัสป้องกันของผู้อื่นแล้วนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบ
3.มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มีความหมายว่า บุคคลอื่นซึ่งได้เข้าไปถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
        4.มาตรา 8 การดักข้อมูลโดยมิชอบ : ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์   และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น    มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า บุคคลใดแอบดักรับฟังข้อมูลผู้อื่นมีความผิด
5.มาตรา 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น   โดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า ห้ามดัดแปลงทำลายแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นมีความผิด
     6.มาตรา 10 รบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง  หรือรบกวน  จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า ห้ามมิให้ปล่อย Multiware เช่น virus, Trojan, worm เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นจนทำให้ได้รับความเสียหาย
7.มาตรา 11 สแปมเมล์ (Spam mail) : ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น  โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว  อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น  โดยปกติสุข ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มีความหมายว่าห้ามมิให้ส่งข้อมูลหรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยที่ปกปิดแหล่งที่มาขอผู้ส่ง ซึ่งจดหมายนั้นเป็นการรบกวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์
8.มาตรา 12 การกระทำความผิดต่อประชาชนโดยทั่วไป/ความมั่นคง : ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
1.  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิด    ขึ้นพร้อมกัน   หรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
2.  เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์   หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์  ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี   และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มีหมายความว่า ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9กับ10แล้วนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือเกิดผลแก่ความมั่นคงของชาติต้องรับผิดเพิ่มตามมาตรา 12
9.มาตรา 13 การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด : ผู้ใดจำหน่าย   หรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง  ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด  ตามมาตรา มาตรา มาตรา มาตรา มาตรา 9 มาตรา 10  หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่าห้ามจำหน่ายโปรแกรมหรือชุดข้อมูลที่จะเป็นเครื่องมือกระทำความผิดตามมาตรา 5,6,7,8,9,10และ11
10.มาตรา 14 นำเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์   ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน   หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   อัน เป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ  โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด  ๆ   อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร   หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ  ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชน   ทั่วไปอาจเข้า ถึงได้
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มีความหมายว่า ห้ามมิให้นำเข้าซึ่งขอมูลที่เป็นการปลอม หรือเป็นเท็จ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือลามกสู่ระบบคอมพิวเตอร์
11.มาตรา 15 ความรับผิดของผู้ให้บริการ : ผู้ใดให้บริการ ผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มีความหมายว่า ห้ามผู้ใด ให้บริการ จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา14ในระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองหรืออยู่ที่ตนเอง
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง : ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น  และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด  ทั้งนี้  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น  ถูกเกลียดชัง  หรือได้รับความอับอาย   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต  ผู้กระทำไม่มีความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตามเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พ.ร.บ. นี้เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ  และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วย  เช่น  พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ร.บ.  ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา
มีความหมายว่า ห้ามนำภาพที่ได้ตัดต่อดัดแปลงภาพของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์





[1] file:///C:/Users/User/Downloads/5099%20(1).pdf
[2] http://www.ictkm.info/content/category/10.html

กฎหมายธุรกิจด้านออนไลน์


ภาพโดย
กลุ่ม KM SYSTEM section 005
   เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 954260 KM SYSTEM

กฎหมายธุรกิจด้านออนไลน์

           ท่ามกลางกระแสโลกาภิวัตน์ที่อินเตอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันอย่าง มาก จนปัจจุบันมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกกว่า 1.8 พันล้านคน และคาดว่ามีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยกว่า 21 ล้านคน ซึ่งยังคงมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องตามความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่รุดหน้า ทั้งระบบโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์ และอินเทอร์เน็ต ทำให้การสื่อสารกันเป็นไปได้โดยง่าย และสามารถเข้าถึงผู้ใช้บริการได้หลายระดับ อีกทั้งยังสามารถโต้ตอบกันได้ทันที ทำให้สามารถเสนอธุรกรรมที่หลากหลาย เช่น การชื้อขาย การบริการหลังการขาย การโอนเงินชำระค่าบริการสินค้า การขนส่ง เป็นต้น ดังนั้น การหันมาทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ของบรรดาผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ จึงถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอย่างกว้างขวาง


ธุรกิจออนไลน์         

             ธุรกิจออนไลน์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (อังกฤษ: Electronic commerce) หรือ อีคอมเมิร์ซ(e-Commerce)  หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่าน โทรศัพท์เคลื่อนที่ การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การจัดการห่วงโซ่อุปทาน การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต แม้กระทั่งซื้อขายออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจลง เช่น ทำเลที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ดังนั้นจึงลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

    การประกอบธุรกิจต้องติดต่อสัมพันธ์กับบุคคลจำนวนมาก และการประกอบธุรกิจก็มีหลายประเภท ทั้งการผลิต การซื้อขาย และการบริการ ดังนั้นจึงมีกฎหมายหลายฉบับที่เกี่ยวข้อง มีทั้งกฎหมายหลักที่ครอบคลุมการประกอบการทุกประเภท เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค เป็นต้น และมีกฎหมายเฉพาะเรื่อง เช่น พ.ร.บ.ทะเบียนพาณิชย์ พ.ร.บ.บัญชี พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องศึกษากฎหมายที่ตนเกี่ยวข้องให้เข้าใจ เพื่อความมั่นใจในการประกอบการ และความเจริญเติบโตอย่างยั่งยืนในที่นี้จะกล่าวถึงกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์ที่จำเป็นต้องทราบพอสังเขป ผู้ประกอบธุรกิจควรสนใจศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการของตนไว้ด้วย


กฎหมายนิติกรรม

หลักกฎหมายในเรื่องนิติกรรมนี้เป็นหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ทุกๆ เรื่องของกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะนิติกรรมเป็นความผูกพันทางกฎหมายโดยเจตจำนงของผู้ทำนิติกรรม ไม่ว่าจะเป็นการทำสัญญาต่างๆ เช่น ซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ จำนอง จำนำ ฯลฯ เพื่อให้นิติกรรมนั้นๆ สมบูรณ์ ถูกต้อง และมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย ย่อมต้องอาศัยหลักนิติกรรมนี้ไปใช้ทั้งสิ้น หลักเกณฑ์ต่างๆ ในการทำนิติกรรรมจึงเป็นเรื่องที่ต้องศึกษาทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญอย่างยิ่

ความหมายและหลักเกณฑ์สำคัญของนิติกรรม
นิติกรรมหมายความว่า การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย และด้วยใจสมัครมุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิหรือที่เรียกรวมๆ กันว่า การเคลื่อนไหวในสิทธิ” (มาตรา 149)
ทั้งนี้ ผู้ที่ทำนิติกรรมจะต้องมี ความสามารถในการทำนิติกรรมด้วย

หลักเกณฑ์สำคัญของนิติกรรม
1. ต้องมีการแสดงเจตนากระทำ กล่าวคือมีการกระทำที่แสดงออกมาถึงความประสงค์ของตนที่มีอยู่ในใจ ซึ่งอาจแสดงเจตนาโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยายก็ได้
2. ต้องกระทำโดยสมัครใจ หมายความว่า เป็นการแสดงเจตนาโดยอิสระ ปราศจากการข่มขู่ ล่อลวง ฉ้อฉล หรือหลอกลวงให้สำคัญผิดใดๆ ถ้าสมัครใจแล้วแม้จะตกลงให้ได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างไรก็ใช้ได้
3. มุ่งให้มีผลผูกนิติสัมพันธ์ (ผูกพัน) ทางกฎหมาย หมายความว่า ต้องการให้มีผลบังคับจริงจัง หากอีกฝ่ายไม่ยอมปฏิบัติตาม ผลในทางกฎหมายนี้ถือการเคลื่อนไหวในสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 ประเภท อันได้แก่ ก่อสิทธิ เปลี่ยนแปลงสิทธิ โอนสิทธิ สงวนสิทธิ หรือการระงับสิทธิ
4. เป็นการทำลงโดยชอบด้วยกฎหมาย หมายความว่า ได้ทำลงโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องวัตถุประสงค์ของนิติกรรม ความสามารถของบุคคล ตลอดจนถูกต้องตามแบบที่กฎหมายกำหนดไว้


ประเภทของนิติกรรม
นิติกรรม แบ่งเป็นประเภทใหญ่ 2 ประเภท ได้แก่
1. นิติกรรมฝ่ายเดียว เช่น การทำพินัยกรรม คำมั่นต่างๆ การปลดหนี้ การตั้งมูลนิธิ การบอกสัญญา นิติกรรมฝ่ายเดียวนี้ย่อมมีผลตามกฎหมาย แม้จะยังไม่มีผู้รับก็ตาม
2. นิติกรรมสองฝ่าย หรือสองฝ่ายขึ้นไป ทำให้เกิดสัญญา หรือข้อตกลงต่างๆ เช่น สัญญาซื้อขาย เป็นต้น


กฎหมายสัญญา

สัญญาเป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากการตกลงกันระหว่างบุคคล ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปทำให้เกิดมีความเป็นเจ้าหนี้ และลูกหนี้ที่มีหน้าที่ต่อกัน
สัญญาจะเกิดขึ้นเมื่อมีคำเสนอและคำสนองสอดคล้องถูกต้องตรงกัน (คำเสนอคือการแสดงเจตนาของการทำสัญญา ส่วนคำสนองคือการตอบรับตามคำเสนอนั้นเท่านั้น สัญญาจึงเกิดขึ้น)

ประเภทของสัญญา
สัญญาอาจแบ่งได้หลายประเภท แต่ที่ใช้บ่อยๆ ได้แก่
1. สัญญาต่างตอบแทนกับสัญญาไม่ต่างตอบแทน สัญญาต่างตอบแทนหมายถึงสัญญาที่ต่างฝ่ายต่างเป็นทั้งเจ้าหนี้ และลูกหนี้ซึ่งกันและกัน หรือต่างฝ่ายต่างได้รับประโยชน์แก่กันเป็นการตอบแทน เช่น สัญญาซื้อขาย ฝ่ายผู้ซื้อได้ทรัพย์สินที่ได้ซื้อ ส่วนผู้ขายได้เงินเป็นการตอบแทน
สัญญาไม่ต่างตอบแทนหมายถึง สัญญาที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว เช่น สัญญาให้ผู้รับจะได้ประโยชน์เพียงฝ่ายเดียว
2. สัญญามีค่าตอบแทน (มีบำเหน็จ) กับสัญญาไม่มีค่าตอบแทน (ไม่มีบำเหน็จ)“สัญญามีค่าตอบแทนหมายถึง สัญญาที่ทำให้คู่สัญญาต่างมีสิทธิได้รับค่าตอบแทนซึ่งกันและกันอาจจะเป็นทรัพย์สินแรงงาน หรือประโยชน์อื่นใดก็ได้ เช่น นายหน้า
สัญญาไม่มีค่าตอบแทนหมายถึง สัญญาที่ไม่มีค่าบำเหน็จตอบแทน เช่น สัญญาตัวแทน
3. สัญญาประธานกับสัญญาอุปกรณ์ เป็นการแบ่งโดยพิจารณาในแง่การเกิดขึ้นและความเป็นอยู่ของสัญญารวมทั้งความสมบูรณ์ของสัญญาสัญญาประธานหมายถึง สัญญาที่เกิดขึ้นและเป็นอยู่ได้โดยลำพังไม่ขึ้นกับสัญญาอื่นใด ความสมบูรณ์ของสัญญาพิจารณาจากตัวสัญญานั้นเองเท่านั้น เช่น สัญญาซื้อขาย สัญญายืม เป็นต้น
สัญญาอุปกรณ์หมายถึง สัญญาที่ไม่สามารถเกิดขึ้น และเป็นอยู่ได้โดยลำพังตนเอง นอกจากสัญญาอุปกรณ์จะต้องสมบูรณ์ตามหลักความสมบูรณ์ของตัวเองแล้ว ยังขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของสัญญาประธานอีกด้วย เช่น สัญญาค้ำประกัน สัญญาจำนอง สัญญาจำนำ เป็นต้น
4. เอกเทศสัญญา หมายถึง ลักษณะของสัญญา วัตถุประสงค์ ผลทางกฎหมาย รวมตลอดถึงสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาในสัญญาแต่ละประเภทไว้โดยเฉพาะ ซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ในบรรพ 3 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 22 ลักษณะ เช่น เอกเทศสัญญา ว่าด้วยการซื้อขายแลกเปลี่ยนให้ เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ เป็นต้น


กฎหมายหนี้
หนี้ ได้แก่ นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่าลูกหนี้มีหน้าที่ต้องกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่าเจ้าหนี้หรือหมายความถึงการที่คู่สัญญาต่างฝ่ายต่างต้องปฏิบัติการชำระหนี้ให้แก่กันและกันได้แก่
1) กระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2) กระทำการละเว้นกระทำการ
3) กระทำการส่งมอบทรัพย์สิน
ลักษณะสำคัญของหนี้ ประกอบด้วย
1. มีนิติสัมพันธ์ อันเป็นความผูกพันในทางกฎหมาย เช่น นิติกรรม
2. มีเจ้าหนี้และลูกหนี้ เพื่อชำระหนี้ให้ตามความผูกพันทางกฎหมาย
3. มีวัตถุแห่งหนี้ คือกระทำการ งดเว้นกระทำการ หรือส่งมอบทรัพย์สิน แล้วแต่คู่กรณีจะได้ตกลงกันไว้
บ่อเกิดแห่งหนี้
หนี้มีสาเหตุหรือบ่อเกิดแห่งหนี้ที่สำคัญคือ
นิติกรรมสัญญาเป็นบ่อเกิดแห่งหนี้ที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเกิดจากเจตนาของบุคคลซึ่งเป็น
สาเหตุแห่งการเป็นหนี้มากที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาที่มีชื่อเฉพาะในเอกเทศสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เช่น สัญญาซื้อขาย แลกเปลี่ยน เช่าทรัพย์ เช่าซื้อ ฯลฯ


กฎหมายซื้อขาย

ความหมายของสัญญาซื้อขาย
ซื้อขาย  หมายถึง  สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง  เรียกว่า  ผู้ขาย  โอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายคนหนึ่งเรียกว่า  ผู้ซื้อ  และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย 

ลักษณะของสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายเป็นนิติกรรมสองฝ่ายต้องใช้หลักทั่วไปของสัญญา(คำเสนอ  คำสนองฯ) หลักทั่วไปของนิติกรรม(วัตถุประสงค์ , เจตนาลวง , นิติกรรมอำพราง , กลฉ้อฉล , ข่มขู่ , สำนึกผิด)  หลักทั่วไปของเรื่องบุคคล(ความสามารถ)
2. บุคคลสองฝ่ายตกลงกันที่จะให้มีการโอนกรรมสิทธิ์
3. สัญญาซื้อขายมุ่งที่จะโอนกรรมสิทธิ์(วัตถุประสงค์หรือประโยชน์สุดท้าย)
4. เป็นสัญญาต่างตอบแทน เช่น        แดงขายที่ดินให้ดำราคา  100,000
 แดง(ในฐานะลูกหนี้)          ส่งมอบที่ดิน
 ดำ(ในฐานะลูกหนี้)
            ชำระราคา
 แดง(ในฐานะเจ้าหนี้)
         เรียกให้ชำระราคา
 ดำ(ในฐานะเจ้าหนี้)           เรียกให้ส่งมอบที่ดิน
       
   
ประเภทของสัญญาซื้อขาย
1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  คือ  สัญญาซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายได้ตกลงกันเป็นที่เสร็จสิ้น  ไม่มีแบบพิธีอันใดที่จะต้องไปทำเพิ่มเติมกันอีก  เช่น  นายแดงทำสัญญาซื้อขายโทรศัพท์มือถือจากนายดำในราคา 5,000  บาท  เช่นนี้เป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  เพราะได้ตกลงซื้อขายกันจนกรรมสิทธิ์โอนไปเป็นของนายแดงแล้ว  ส่วนปัญหาว่าจะส่งมอบโทรศัพท์กันเมื่อไหร่เป็นเรื่องของการชำระหนี้
 2. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข
มาตรา  459 บัญญัติว่า  ถ้าสัญญาซื้อขายมีเงื่อนไข....ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้เป็นไปตามเงื่อนไข....”  หมายถึง  สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดซึ่งนำเอาเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิด ขึ้นหรือไม่มาเป็นตัวกำหนดว่ากรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้ซื้อ จนกว่าจะเป็นไปตามเงื่อนไข
1.  เงื่อนไขบังคับก่อน
2.  เงื่อนไขบังคับหลัง
มีการซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว  เพียงแต่มีเงื่อนไขเป็นตัวการประวิงเวลาการโอนสิทธิออกไป  เช่น  นายแดงตกลงซื้อรถยนต์จากนายดำ  โดยตกลงกันว่าให้นายแดงรับรถไปจากนายดำได้เลย  แต่กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนไปจนกว่าจะได้ชำระราคาเสร็จ
3. สัญญาซื้อขายมีเงื่อนเวลา
มาตรา  459  บัญญัติว่า  ถ้าสัญญาซื้อขายมี...เงื่อนเวลาบังคับไว้  ท่านว่ากรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังไม่โอนไปจนกว่าการจะได้เป็นไปตาม...กำหนดเงื่อนเวลานั้น...”  หมายถึง  สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด  แต่กรรมสิทธิ์จะยังไม่โอนไปจนกว่าจะถึงกำหนดตามเวลา
-     สัญญาจะยังไม่โอนไปจนกว่าฝนจะตก.........?
-     สัญญาจะยังไม่โอนไปจนกว่าจะถึงเที่ยงคืน....?
4. สัญญาจะซื้อจะขาย
 มาตรา  456  วรรคสอง  บัญญัติว่า อนึ่ง สัญญาจะขายหรือจะซื้อทรัพย์สินอย่างใดๆ...ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ อย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ  หรือได้วางประจำ(มัดจำ)ไว้  หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว  ท่านว่าจะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่”  หมายถึง  สัญญาซื้อขายประเภทหนึ่ง  ซึ่งคู่สัญญาได้ทำสัญญาเอาไว้ต่อกันฉบับหนึ่งว่าจะไปทำสัญญาซื้อขายให้สำเร็จตลอดไป  โดยการทำตามแบบที่กฎหมายกำหนด  คือ  การทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในภายภาคหน้า


บทสรุป

            ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์จึงจำเป็นต้องศึกษากฎหมาย กฎหมายที่ยกมาอธิบายพอสังเขปนี้ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการประกอบธุรกิจด้านออนไลน์ที่ผู้เขียนมีความคิดว่าจำเป็นที่ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ควรทราบ เนื่องจากเป็นกฎหมายพื้นฐานในการทำธุรกิจคือ กฎหมายนิติกรรม เป็นหลักเกณฑ์ที่จะนำไปใช้ทุกๆ เรื่องของกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เพราะนิติกรรมเป็นความผูกพันทางกฎหมายโดยเจตจำนงของผู้ทำนิติกรรม กฎหมายสัญญา เป็นนิติกรรมที่เกิดขึ้นจากความตกลงของระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป มีคำเสนอ คำสนอง ที่ตกต้องตรงกัน กฎหมายหนี้ เมื่อบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปได้ทำสัญญาต่อกันก็จะจึงเกิดหนี้ระหว่างบุคคลนั้น ซึ่งมีฝ่ายหนึ่งเป็นเจ้าหนี้ และอีกฝ่ายหนึ่งเป็นลูกหนี้ ที่จะต้องมีหน้าที่ชำระหนี้ให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง กฎหมายซื้อขาย ธุรกิจออนไลน์ส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อขาย ที่บุคคลมีทำการซื้อขายสิ่งต่างๆบนอินเตอร์เน็ต จะมีผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งมีหน้าที่ชำระหนี้ต่อกัน ตามนิติกรรสัญญาที่มีการตกลงซื้อขายบนอินเตอร์เน็ต
            ธุรกิจออนไลน์ เป็นรูปแบบของการกระทำธุรกิจรูปแบบหนึ่ง กฎหมายที่ใช้นั้นจึงนำกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เบื้องต้นในการประกอบธุรกิจมาใช้บังคับโดยเทียบเคียง เนื่องจากในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการประกอบธุรกิจออนไลน์ ที่จะกำหนดสิทธิ หน้าที่ หรือความรับผิดต่างที่ได้กระทำบนอินเตอร์เน็ต ดังนั้น จึงต้องนำกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กฎหมายซึ่งเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาบังคับใช้กับธุรกิจออนไลน์



เอกสารอ้างอิง

หนังสือ
สุณี ตันติอธิมงคล. (2549). กฎหมายธุรกิจ. สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์. (2552). ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ :
            ซีเอ็ดยูเคชั่น      
เวปไซด์
สราวุธ นิติวัฒนะ. ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2557, เวปไซด์ :
การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2557, จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี เวปไซด์ :
            http://th.wikipedia.org/wiki/การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

กฏหมายน่ารู้ของโลกออนไลน์ (ตอนที่ ๑). วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2557, จากสำนักงานพัฒนาธุรกรรม

ทางอิเล็กทรอนิกส์ เวปไซด์ : http://www.etda.or.th/etda_website/content/background-and-mission.html

สราวุธ นิติวัฒนะ. ความรู้พื้นฐานทางกฎหมายธุรกิจ. วันที่ค้นข้อมูล 11 มกราคม 2557, เวปไซด์ :

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2557

จริยธรรมธุรกิจสารสนเทศ

ภาพโดย
กลุ่ม KM SYSTEM section 005
   เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 954260 KM SYSTEM


คำนำ
            ปัจจุบันการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของเศรษฐกิจในด้านต่างๆ มีผลทำให้แต่ละองค์กรมีการปรับตัวและการบริหางานให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่ในปัจจุบันให้มากที่สุด โดยต้องคำนึงถึงความมีจริยธรรม ความโปร่งใส รวมไปถึงความรับผิดชอบที่องค์กรมีต่อสังคมและผู้บริโภค ทั้งนี้ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความตื่นตัวในเรื่องของจริยธรรมทางธุรกิจค่อนข้างช้า ปัญหาที่พบในด้านของจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจมีอยู่จำนวนมาก จึงต้องเร่งเปลี่ยนแปลงให้เกิดจริยธรรมทางธุรกิจทั้งในตัวบุคคลและองค์กร การมีจริยธรรมทางธุรกิจจะทำให้การประกอบธุรกิจสามารถดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ บุคลากรในองค์กรมีการพัฒนาตนเองและมีความทันต่อเหตุการณ์หรือสามารถบริหารงานแข่งกับองค์กรคู่แข่งได้เป็นอย่างดี

จริยธรรมทางธุรกิจสารสนเทศ
               การดำเนินธุรกิจในปัจจุบันมีหลากหลายช่องทาง เนื่องจากการติดต่อสื่อสารที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมมีลักษณะเปิดกว้าง บุคคลต่างๆ หลายเชื้อชาติหลายประเทศ สามารถติดต่อกันแม้ต่างระยะทางและไม่ได้พบเจอ ทั้งนี้เกิดเป็นการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจผ่านช่องทางที่เรียกว่า อินเตอร์เน็ต กลายเป็นธุรกิจทางสารสนเทศ หรือที่เรียกว่าธุรกิจออนไลน์ การทำธุรกิจออนไลน์นั้นเป็นการรวมตัวของบุคคลต่างพฤติกรรม ในการทำธุรกิจจึงต้องทำให้เกิดความมั่นใจและความพึงพอใจที่จะทำการแลกเปลี่ยนสินค้าซึ่งกันและกัน จึงได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อใช้เป็นหลักในการยึดเหนี่ยวให้บุคคลประพฤติปฏิบัติตาม ซึ่งสิ่งนั้น เรียกว่า จริยธรรม
         จริยธรรม (Ethics) เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของปรัชญาที่เกี่ยวข้องกับหลักในการประพฤติปฏิบัติตน เป็นแบบอย่างของการคิดและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นพฤติกรมที่ดี โดยจริยธรรมนั้น หมายถึง หลักเกณฑ์ที่สังคมใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน เป็นหลักความประพฤติที่ควรแก่การยึดถือและปฏิบัติตาม โดยเป็นสิ่งที่บ่งบอกให้สมาชิกทุกคนทราบว่า สิ่งใดควรทำหรือไม่ควรทำ และสิ่งนั้นจะต้องเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับว่าถูกต้องดีงามควรประพฤติปฏิบัติ ตัวอย่างเกณฑ์ที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ เช่น ขนบธรรมเนียม ประเพณี หรือ ศีลธรรม เป็นต้น
         องค์ประกอบของจริยธรรมนั้นสามารถแบ่งได้ 3 อย่าง ดังนี้ องค์ประกอบที่หนึ่งคือ ความมีระเบียบวินัย เป็นสิ่งที่ต้องมีในทุกองค์กร หากองค์กรใดขาดระเบียบวินัยแล้ว จะเกิดการประพฤติที่ต่างคนต่างทำ ไม่มีความเป็นระเบียบแผน ก่อให้เกิดเป็นการละเมิดสิทธิหน้าที่ของบุคคลที่ทำงานร่วมกันในองค์กรได้ องค์ประกอบที่สองคือ สังคม เป็นการรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการกิจกรรมทางด้านธุรกิจนั้น มุ่งเน้นไปที่เป้าหมายเดียวกัน และไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน เกิดเป็นการพัฒนาสังคมที่ดี องค์ประกอบที่สามคือ ความอิสระเสรี บุคคลทุกคนมีความอิสระในการกระทำกิจกรรมต่างๆ แต่การกระทำนั้นต้องถูกต้องตามครรลองคลองธรรม เพื่อให้สังคมเกิดความมีระเบียบวินัย
    จริยธรรมยังสามารถแบ่งได้ตามการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของแต่ละสายอาชีพ เช่น จริยธรรมของการเป็นแพทย์-พยาบาล จริยธรรมของครู-อาจารย์ จริยธรรมของผู้บริหารองค์กร จริยธรรมของการดำเนินธุรกิจด้านสารสนเทศ เป็นต้น ทั้งนี้ในปัจจุบันการติดต่อค้าขายเป็นเรื่องที่ได้รับความนิยมมากมาย โดยเกิดกับคนทุกวัย ทุกอาชีพ เนื่องจากประเทศมีการพัฒนาในด้านการติดต่อสื่อสาร การค้าขายที่นิยมที่สุดในปัจจุบันคือ การค้าขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การติดต่อทำธุรกรรม หรือการค้าขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ต โดยที่ผู้ซื้อและผู้ขายสินค้า มีจุดประสงค์ในการนำเสนอและต้องการซื้อสินค้าเดียวกัน และเกิดความพึงพอใจในการแลกเปลี่ยนสินค้าร่วมกัน

รูปแบบของการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จำแนกได้หลายรูปแบบ ได้แก่ 
  • แบรนด์สินค้าเดี่ยว (The Single Brand) อยู่ในรูปแบบของการที่แบรนด์สินค้าชนิดหนึ่ง มีการจัดทำเว็บไซต์เฉพาะสำหรับสินค้าของตนเอง เช่น Chaps, CC-OO, Lyn Around(แบรนด์เสื้อผ้า)
  • ตลาดกลางอิเล็กทรอนิกส์ (Marketplace) เป็นลักษณะของห้างสรรพสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ มีสินค้าหลากหลายประเภทรวมกัน
  • ตลาดกลางเฉพาะอุตสาหกรรม (Vertical Marketplace) เป็นตลาดพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับสินค้าเฉพาะอย่าง เช่น รองเท้า เสื้อผ้าไซต์ใหญ่
  •    ตลาดชุมชน (Community Market) เกิดจากกลุ่มคนที่มีความคิดเห็นร่วมกัน เป็นเครือข่ายชุมชนออนไลน์ เช่น ประกาศขายของ หางาน สมัครงาน
  •  ตลาดแฟลชเซลหรือการเสนอขายสินค้าราคาลดแบบสุดๆ เฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ (Flash Sell Marketplace / Event Sell Market) เป็นความต้องการสินค้าที่ไม่มีขายในท้องตลาด เน้นการจำหน่ายสินค้าให้เฉพาะกับสมาชิกเท่านั้น 
  •    ครอสโอเวอร์ (Crossover) เป็นการทำพาณิชย์ในรูปแบบผสมระหว่างร้านค้ากายภาพและร้านค้าออนไลน์ เช่น Walmart Carrefour 
  • สินค้าเฉพาะสำหรับบุคคล (Personalization) อยู่ในลักษณะของการที่ลูกค้าสามารถกำหนดรายละเอียดของสินค้าได้ด้วยตนเอง เช่น ASUS จำหน่ายโน๊ตบุ๊ค ลูกค้าสามารถกำหนดการ์ดจอ แรม หรือส่วนประกอบอื่นๆ เพิ่มเติมได้
  • การทำสิ่งที่อยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ให้มีตัวตน (Immaterial going Physical) เช่น Flipstory ให้บริการลูกค้าสามารถแปลงวิดีโอจากยูทูปให้เป็นหนังสือได้
  • เฟซบุ๊คหรือโซเชียลคอมเมิร์ช (Facebook / Social Commerce) เป็นการทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันที่ได้รับความนิยมอย่างมาก สามารถค้าขายสินค้าผ่านเฟซบุ๊คได้
การทำพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การค้าขายสินค้าบนอินเตอร์เน็ตนี้ ผู้ขายจะนำเสนอสินค้าเป็นรูปภาพและราคา มีการบรรยายรายละเอียดและสรรพคุณของสินค้ากำกับไว้ หากผู้ซื้อมีความประสงค์จะซื้อสินค้าและสินค้านั้นตรงความต้องการของผู้ซื้อ ก็จะเกิดการติดต่อแลกเปลี่ยนเพื่อซื้อขายสินค้านั้นๆ แต่การติดต่อซื้อขายลักษณะนี้ส่วนใหญ่ ทางผู้ซื้อจะไม่สามารถเห็นสินค้าที่ต้องการซื้อได้ ผู้ซื้อจะต้องมีความไว้วางใจและมีความมั่นใจในตัวผู้ขาย ว่าสินค้าจะถูกต้องตามที่บรรยายรายละเอียดไว้ และจะไม่หลอกลวงขายสินค้าให้ผู้ซื้อ ผู้ขายก็ต้องมีความมั่นใจในตัวผู้ซื้อว่าจะทำการชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ ซึ่งในสังคมปัจจุบันมีการหลอกลวงผู้บริโภคอยู่จำนวนไม่น้อย และมีการฉ้อโกงร้านค้าจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่า มีทั้งผู้ขาย/ผู้ซื้อ สินค้าที่มีจริยธรรมและไม่มีจริยธรรมอยู่จำนวนมาก
จริยธรรมทางธุรกิจสารสนเทศ หมายถึง หลักเกณฑ์ในการประพฤติตนร่วมกันในการทำธุรกิจออนไลน์ โดยบุคคลต้องประพฤติปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและความพึงพอใจในการซื้อขายสินค้าระหว่างกันและกัน การดำเนินธุรกิจออนไลน์ เมื่อมีกลุ่มคนจำนวนมากทั้งในและนอกประเทศในการติดต่อซื้อขายกัน ย่อมทำให้เกิดการฉ้อโกง การหลอกลวง หรือการนำเสนอให้บิดเบือนไปจากความเป็นจริง จริยธรรมทางธุรกิจออนไลน์จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปตามแนวทางที่ดี ที่ถูกต้อง และเกิดปัญหาในการซื้อขายกันน้อยที่สุด หากบุคคลแต่ละคนนั้นปฏิบัติตามจริยธรรมที่กำหนดไว้
เมื่อปี ค.ศ. 2001 ศูนย์สหประชาชาติเพื่อการอำนวยความสะดวกด้านการค้าและธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (United Nations Centre for Trade Facilition and Electronic Business : UN/CEFACT) ได้มีข้อเสนอแนะฉบับที่ 32 เกี่ยวกับเรื่องเครื่องมือในการกำกับดูแลตนเองของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จริยธรรมทางธุรกิจ “E-Commerce Self-Regulatory Instruments (Codes of Conducts)” โดยมีความเห็นว่าการจัดทำ “Codes of Conducts” หรือ จริยธรรมทางธุรกิจ สามารถดำเนินการได้ทันที รวดเร็วกว่าการออกกฏหมาย มีความยืดหยุ่นสามารถนำไปปรับใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคลและองค์กร โดยต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐานที่สำคัญ คือ ความเป็นธรรม ต่อทุกฝ่าย
            ทาง UN/CEFACT ได้ยกตัวอย่างของประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีที่แต่ละประเทศสามารถนำไปเป็นแบบอย่างได้ โดยมีการจัดทำ “Model Code of Conduct for Electronic Commerce, Electronic Commerce Platform Netherlands” เน้นเรื่องความเชื่อมั่น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยมาจากแนวคิดสำคัญ คือ สิ่งใดที่ใช้กับธุรกรรมออฟไลน์ ต้องนำมาใช้กับธุรกรรมออนไลน์ด้วย โดย “Codes of Conducts” นี้ ประกอบด้วยหลักการ 3 เรื่อง คือ
1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะต้องมีความเชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเชื่อถือได้ของระบบและองค์กร และความเชื่อถือได้ของชนิดของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องมีความโปร่งใสอย่างสูงสุด เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่าย รูปแบบและเงื่อนไขการชำระเงิน ระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เป็นต้น
            3. ความลับและความเป็นส่วนตัว (Confidentiality and privacy) ต้องมีการเคารพสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่น ข้อมูลส่วนบุคคลต้องเก็บเป็นความลับ และนำไปใช้เมื่อได้รับการยินยอมจากอีกฝ่ายเท่านั้น มีมาตรการรักษาข้อมูลที่เป็นความลับ และมีการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา 

ตัวอย่างจริยธรรมทางธุรกิจสารสนเทศ แสดงตามส่วนที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้า ดังนี้
  •  การสร้างเว็บไซต์เพื่อนำเสนอ หรือจำหน่ายสินค้า ทางร้านค้าจะต้องทำการลงทะเบียนการค้าพาณิชย์และเสียภาษีร้านค้าให้ถูกต้อง ร้านค้าใดไม่มีการลงทะเบียนการค้าพาณิชย์ถือว่าร้านค้านั้นไม่มีความปลอดภัยในการนำเสนอสินค้า 
  • ร้านค้าจะต้องตรวจสอบสินค้าที่นำเสนอ ว่าต้องเป็นสินค้าที่ถูกต้องตามกฏหมาย ส่วนผสมในตัวผลิตภัณฑ์ต้องไม่เกิดอันตรายกับผู้ใช้ มีอย.กำกับสินค้า และมีการนำเข้าสินค้าอย่างถูกต้อง ไม่ปลอมแปลงหรือคัดลอกสินค้าจากผู้อื่น
  • การนำเสนอสินค้าภายในร้านค้า ต้องทำการระบุรายละเอียดสินค้าให้ชัดเจน พร้อมระบุด้วยว่าสินค้านี้ยังมีของพร้อมขายหรือไม่ หรือไเพื่อลดปัญหาการชำระเงินแล้วไม่มีสินค้า ในการนำเสนอรายละเอียดและสรรพคุณของสินค้านั้น ต้องนำเสนอตามคุณภาพและสรรพคุณตามสินค้าที่แท้จริง ไม่มีการตกแต่งหรือรีวิวผลลัพธ์ของสินค้าเกินจริง
  • เมื่อผู้ซื้อมีการสมัครสมาชิกเว็บไซต์ จะต้องทำการกรอกข้อมูลส่วนตัว รวมถึงบัญชีของลูกค้า ซึ่งข้อมูลดังกล่าวถือเป็นความลับของลูกค้า ทางร้านค้าไม่สมควรที่จะทำการเปิดเผยข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ หรือนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากลูกค้า
  • ข้อมูลของลูกค้าที่ได้ทำการแจ้งไว้กับทางร้านค้า ทางร้านค้าควรที่จะมีระบบการเก็บข้อมูลลูกค้าอย่างถูกต้อง เพื่อป้องกันการถูกลักลอบนำข้อมูลของลูกค้าไปใช้ ซึ่งถือเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล
  • ร้านค้าต้องทำการตรวจสอบและพัฒนาสินค้าอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความแน่ใจในตัวผลิตภัณฑ์ก่อนส่งมอบให้กับลูกค้า
  • หากมีการเสนอแนะผลิตภัณฑ์ หรือสินค้า ร้านค้าควรทำความเข้าใจกับผลิตภัณฑ์ให้มากที่สุด เพื่อที่จะสามารถแนะนำผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับตัวลูกค้าและเกิดประสิทธิภาพในการใช้งานมากที่สุด ไม่เสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่เหมาะกับลูกค้าเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง
  • การชำระเงิน ร้านค้าควรแจ้งช่องทางการชำระเงิน และระบุเลขที่บัญชีสำหรับการโอนเงินที่ถูกต้อง และสามารถตรวจสอบได้ ไม่หลอกลวงลูกค้า
  • เมื่อผู้ซื้อทำการชำระเงินเรียบร้อยแล้ว ควรแจ้งการโอนเงินพร้อมทั้งเก็บสลิปการโอนเงินไว้เป็นหลักฐาน ส่งให้กับทางร้านค้า อีกทั้งในการชำระเงิน ลูกค้าควรแจ้งการชำระเงินอย่างถูกต้อง ไม่หลอกลวงผู้ขายว่า โอนเงินเรียบร้อยแล้ว ทั้งที่จริงแล้วยังไม่ได้ทำการโอนเงิน หรือการนำหลักฐานการโอนเงินของผู้อื่นมาแสดงแก่ร้านค้าและแอบอ้างเป็นหลักฐานการโอนเงินของตนเอง
  • ทางร้านค้า เมื่อได้รับการโอนเงินจากทางลูกค้าแล้ว ควรจัดส่งสินค้าตามที่ได้ตกลงทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันไว้ และสินค้าที่จัดส่งควรเป็นสินค้าที่ตรงกับรายละเอียดที่ได้แจ้งไว้ในตอนนำเสนอสินค้า ไม่หลอกลวงลูกค้าด้วยการส่งสินค้าที่ผิดแปลกไปจากที่ตกลงกันไว้ และไม่ส่งสินค้าของปลอมแล้วหลอกลวงว่าเป็นของแท้ให้กับลูกค้า
  • ในการโฆษณาสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ หรือเชิญชวนให้ลูกค้ามาซื้อสินค้าในร้านค้าของตนนั้น ควรทำให้ถูกต้องตามหลักจริยธรรม ไม่เรียกร้องเชิญชวนที่ผิดแบบ เช่น การตั้งกระทู้รีวิวสินค้าว่ามีลูกค้าซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ของตนแล้วได้ผลดีจำนวนมาก ทั้งที่ผู้ที่มารีวิวสินค้านั้น คือเจ้าของร้านค้าเป็นผู้มารีวิวสินค้าเอง ไม่ใช่ลูกค้ามารีวิวสินค้าให้ทางร้าน เพื่อให้เกิดกระแสความนิยมในการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์ของตนมากขึ้น และสร้างรายได้ให้ร้านค้าตนเอง
บทสรุป
          จริยธรรมนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยว และควบคุมความประพฤติของบุคคลให้สามารถดำเนินธุรกิจอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติสุข อีกทั้งเมื่อมีการดำเนินธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น จริยธรรมธุรกิจสารสนเทศจึงมีความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจประเภทนี้อย่างมากเช่นกัน ธุรกิจออนไลน์มีความเสี่ยงต่อการซื้อขายมากเป็นอันดับต้นๆ ของธุรกิจแต่ละประเภท เนื่องจากเป็นการซื้อขายที่ไม่ได้เห็นตัวสินค้าและไม่ได้พบปะกัน ดังนั้น จะเห็นได้ว่า จริยธรรมเป็นสิ่งที่ควรพึงมีในตัวบุคคลทุกสาขาวิชาชีพ เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจที่เป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสมโดยทั่วกัน


เอกสารอ้างอิง

Geri Stengel. 2553. Ethics for Online Businesses: How Do You Decide What's Right?
. [Online]. Available : http://ventureneer.com/vblog/ethics-online-businesses-how-do-you-decide-whats-right
            The International Institute for asia-pacific studies Bangkok university. บทที่ 6 รูปเเบบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เป็นเลิศเเละเเนวทางการพัฒนา. [Online]. Available : http://www.insaps.org/portaladmin/uploads/Download/1366187056.pdf
            unit 6 กฎหมาย จริยธรรม e-commerce. [Online]. Available : http://ms.pbru.ac.th/moodle/mod/resource/view.php?id=242
ชูชาติ ชื่นชูวิทย์. บทที่ 8  จริยธรรมและความปลอดภัย. [Online]. Available :
http://changhownan.blogspot.com/2011/02/6-e-commerce.html