วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

อาจารย์ อัจฉรา ชินนิยมพาณิชย์


อาจารย์อัจฉรา ชินนิยมพาณิชย์
อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานทางวิชาการ : 
- วิทยานิพนธ์ระดับนิติศาสตรมหาบัณฑิต เรื่อง มาตรการทางกฎหมายในการจัดการเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้วจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ความสนใจทางวิชาการ : 
- กฎหมายสิ่งแวดล้อม (Environmental Law)
- กฎหมายประชาคมอาเซียน (ASEAN Law)
- กฎหมายเยอรมันและกฎหมายประชาคมยุโรป (German Law and EU Law)
- สิทธิมนุษยชน (Human Rights)
- นิติปรัชญา (Philosophy of Law)

เกียรติคุณ รางวัลที่ได้รับ :
- (April, 2010)  “Scholarship for Spring School Program at Goethe Universität, Frankfurt am Main, Germany”, organized by the German-Southeast Asian Center of Excellence for Public Policy and Good Governance (CPG), Thammasat University

ประวัติการทำงาน :
2551 – 2555   เจิมมิ่ง เฟรย์ โฮเท็ล แอนด์ รีสอร์ท (เลขานุการส่วนตัวของประธานกรรมการบริหาร / ที่ปรึกษากฎหมาย)
    Germing Frey Hotels & Resorts PCC (Personal Assistant to CEO / Corporate Counsel)

2549 – 2551   มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก (พนักงานประสานงานแหล่งทุนต่างประเทศ / ผู้ช่วยผู้ประสานงานโครงการต่อต้านการค้ามนุษย์ในประเทศกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง)
The Center for the Protection of Children’s Rights Foundation (International Fundraiser / Mekong Regional Project Coordinator Assistant; Project of Anti-Trafficking)

2547 – 2549   ศาลเด็ก เยาวชน และครอบครัวเขตแฟร์แฟกซ์ รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา (อาสาสมัครแผนกบริการผู้เสียหายในคดี)
  Juvenile and Domestic Relations District Court, Virginia, USA (Volunteer of Victim Services Unit)

2545 – 2546   บริษัท ลากูน่า รีสอร์ท แอนด์ โฮเท็ล จำกัด (มหาชน) (ผู้ช่วยฝ่ายกฎหมาย)
Laguna Resorts & Hotels PLC (Legal Assistant)


ประวัติการศึกษา :
2554  นิติศาตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  LL.M (Natural Resources and Environmental Law), Thammasat University

2548  ประกาศนียบัตรผู้ช่วยทนายความ George Mason University ประเทศสหรัฐอเมริกา
  Certificate in Paralegal, George Mason University, USA

2546  ประกาศนียบัตรหลักสูตรวิชาว่าความ รุ่นที่ 19 (ใบอนุญาตว่าความ) สภาทนายความ
Certificate in Litigation Lawyer the 19th class - year 2002, Lawyers Council of Thailand

2545  ประกาศนียบัตรวิชาภาษาอังกฤษเฉพาะอาชีพ (กฎหมาย)  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Certificate in English for Specific Careers (Law), Sukothai Thammathiraj Open University  
2544  นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  LL.B, Thammasat University

2539  มัธยมศึกษาตอนปลาย (สายศิลป์ภาษาอังกฤษ เยอรมัน) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
High School Degree (major: Arts – German), Triam Udom Suksa School

คำถามที่ 8

คำถามที่ 8 : การดักจับข้อมูลรหัสผ่าน แล้วนำไปใช้หรือขายต่อ

การแอบดักจับข้อมูลของลูกค้าเป็นความผิดในมาตรา มาตรา 6 ของพรบคอมพวิเตอร์ กล่าวว่าการล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง   ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี   หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำถามที่ 7

คำถามที่ 7 : การเปิดรับและตอบกลับอีเมล์จากผู้ที่ไม่รู้จัก อาจมีการแฝงไวรัส

มีความผิดตามมาตรา 11 พรบคอมพิวเตอร์ ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น  โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว  อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น  โดยปกติสุข ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท

คำถามที่ 6

คำถามที่ 6 : การกระทำให้หลงเชื่อเพื่อให้ลูกค้ากระทำธุรกรรมโดยวิธี โอนเงิน หรือสั่งจ่ายผ่านบัตรเครดิต

การหลอกผู้อื่นบนระบบออนไลท์มีความผิดตามมาตรา 14พรบคอมพิวเตอร์ ความว่า ผู้ใดนำเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์

คำถามที่ 5

คำถามที่ 5 :  การดักจับข้อมูลจากสายสัญญาณขณะที่ลูกค้ากระทำธุรกรรม โดยการทำสำเนารหัสจากอุปกรณ์ Skimmer ที่ถูกติดตั้งกับ Machine ที่ใช้ทำธุรกรรม

การแอบดักจับข้อมูลของลูกค้าเป็นความผิดในมาตรา มาตรา 6 ของพรบคอมพวิเตอร์ กล่าวว่าการล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง   ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี   หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

คำถามที่ 4

คำถามที่ 4 :  การเจาะเข้าระบบงาน (Hack) โดยตรงและทำความเสียหายให้กับลูกค้า

การเจาะเข้าระบบผิดตามมาตรา พรบคอมพิวเตอร์

คำถามที่ 3

คำถามที่ 3 ในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ในภายหลังมีการตรวจสอบหลักฐานการโอนเงิน พบว่า มีการปลอมแปลงหลักฐานการโอนเงินเท็จให้กับทางร้าน ทางร้านค้าควรทำอย่างไร (ลูกค้าผิด)

ผิดกฎหมายอาญาเรื่องปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอม สามารถแจ้งความเพื่อดำเนินคดีต่อผู้ซื้อได้ ทั้งยังเป็นการฉ้อโกงด้วยส่วนกฎหมายแพ่ง สามารถเรียกร้องค่าเสียหายได้

อธิบายหลักจริยธรรมนเรื่องของ ความซื่อสัตย์ในยุคการค้าเสรี ลูกค้าและผู้ประกอบการ ควรมีความซื่อสัตย์ และมีความระมัดระวังในการซื้อขายสินค้า ทั้งสองฝ่าย ข้อมูลจากกรณีศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการมีความไว้เนื้อเชื่อใจและมีความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า เนื่องจากมีการส่งหลักฐานการโอนเงินให้ทางผู้ประกอบการ และได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ลูกค้าเป็นการแลกเปลี่ยนเรียบร้อยแล้ว แต่ทางลูกค้าไม่มีความซื่อสัตย์ในการซื้อขายสินค้า กระทำการแจ้งหลักฐานการโอนเงินเท็จ รวมไปถึงผู้ประกอบการขาดความระมัดระวังในการตรวจสอบหลักฐาน จึงทำให้ผู้ประกอบการเกิดการเสียผลประโยชน์และถูกโกงการจากการซื้อขาย

คำถามที่ 2

คำถามที่ 2 หากผู้ประกอบการต้องการจัดทำธุรกิจออนไลน์ ผู้ประกอบการควรทำการจดทะเบียนผู้ประกอบการค้าพาณิชย์ออนไลน์ หรือไม่ อย่างไร?

ผิดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  เครื่องหมายรับรองการจดทะเบียนผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Registered)เพื่อยืนยันการมีตัวตนของผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าหรือบริการโดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือย่ายอินเทอร์เน็ต บริการอินเทอร์เน็ต บริการเป็นตลาดกลางในการซื้อขายสินค้าหรือบริการ โดยวิธีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องไปจดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบสถานะและการมีอยู่จริงของผู้ประกอบการ และรายชื่อผู้ประกอบการทั้งหมดจะรวบรวมอยู่ในฐานข้อมูลผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีการเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเครื่องหมายรับรองความน่าเชื่อถือในการประกอบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (DBD Verified) เพื่อรับรองมาตรฐานการประกอบธุรกิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่ดีสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไทย และเสริมสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการซื้อขายสินค้า

ในดานหลักจริยธรรมผู้ประกอบการควรทำการจดทะเบียนการค้า เพื่อให้ร้านค้าเกิดความน่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบการประกอบกิจการได้ง่าย และเสียภาษีอย่างถูกต้อง เนื่องจากปัจจุบันการจดทะเบียนการค้าถือเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ร้านค้า การจดทะเบียนจะเป็นการยืนยันข้อมูลการมีตัวตนของผู้ขายว่ามีตัวตนอยู่จริง หากลูกค้าถูกเอาเปรียบจากร้านค้า สามารถร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อสามารถติดตามให้ทางร้านรับผิดชอบได้โดยง่าย

คำถามที่ 1

คำถามที่ 1 เมื่อผู้ซื้อทำการสั่งสินค้าจากผู้ขายสินค้า มีการชำระให้กับทางร้านค้าเรียบร้อยแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้าตามที่ตกลงกันไว้ 


ผิดกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องการซื้อขายเนื่องจากว่าผู้ขายมีหน้าที่ส่งมอบสินค้าให้แก้ผู้ซื้อ และผู้ซื้อมีหน้าที่ต้องชำระราคา(เงิน)ให้แก่ผู้ขาย กรณีนี้ผู้ซื้อมีการชำระเงินต่อผู้ขายแล้ว ผู้ขายจึงต้องมีหนี้ที่จะส่งสินค้าให้ผู้ซื้อ

ผิดหลักจริยธรรมในด้านของ “Codes of Conducts” นี้ ประกอบด้วยหลักการ 3 เรื่อง คือ
1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะต้องมีความเชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเชื่อถือได้ของระบบและองค์กร และความเชื
่อถือได้ของชนิดของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องมีความโปร่งใสอย่างสูงสุด เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่าย รูปแบบและเงื่อนไขการชำระเงิน ระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เป็นต้น
1. ความเชื่อถือได้ (Reliability) โดยข้อมูลที่เผยแพร่จะต้องมีความเชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในการติดต่อสื่อสารทางอิเล็กทรอนิกส์ ความเชื่อถือได้ของระบบและองค์กร และความเชื่อถือได้ของชนิดของลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
2. ความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องมีความโปร่งใสอย่างสูงสุด เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่าย รูปแบบและเงื่อนไขการชำระเงิน ระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เป็นต้น
2. ความโปร่งใส (Transparency) ข้อมูลที่มีอยู่จะต้องมีความโปร่งใสอย่างสูงสุด เช่น ข้อมูลการติดต่อ ข้อมูลทะเบียนการค้า หมายเลขประจำตัวผู้เสียภาษี รายละเอียดสินค้า รายละเอียดค่าใช้จ่าย รูปแบบและเงื่อนไขการชำระเงิน ระยะเวลาการจัดส่งสินค้า การรับประกันสินค้า กฏหมายเกี่ยวกับการทำธุรกรรม เป็นต้น

แผนผังจัดการกระบวนการความรู้

แผนผังจัดการกระบวนการความรู้


ภาพโดย

กลุ่ม KM SYSTEM section 005
   เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 954260 KM SYSTEM

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

คำถามที่พบบ่อย

คำถามที่ 1: เมื่อผู้ซื้อทำการสั่งสินค้าจากผู้ขายสินค้า มีการชำระให้กับทางร้านค้าเรียบร้อยแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้าตามที่ตกลงกันไว้ 


คำถามที่ 2: หากผู้ประกอบการต้องการจัดทำธุรกิจออนไลน์ ผู้ประกอบการควรทำการจดทะเบียนผู้ประกอบการค้าพาณิชย์ออนไลน์ หรือไม่ อย่างไร?

คำถามที่ 3:ในกรณีที่มีการส่งมอบสินค้าให้กับผู้ซื้อเรียบร้อยแล้ว ในภายหลังมีการตรวจสอบหลักฐานการโอนเงิน พบว่า มีการปลอมแปลงหลักฐานการโอนเงินเท็จให้กับทางร้าน ทางร้านค้าควรทำอย่างไร (ลูกค้าผิด)

คำถามที่ 4:การเจาะเข้าระบบงาน (Hack) โดยตรงและทำความเสียหายให้กับลูกค้า


คำถามที่ 5:  การดักจับข้อมูลจากสายสัญญาณขณะที่ลูกค้ากระทำธุรกรรม โดยการทำสำเนารหัสจากอุปกรณ์ Skimmer ที่ถูกติดตั้งกับ Machine ที่ใช้ทำธุรกรรม

คำถามที่ 6 การกระทำให้หลงเชื่อเพื่อให้ลูกค้ากระทำธุรกรรมโดยวิธี โอนเงิน หรือสั่งจ่ายผ่านบัตรเครดิต

คำถามที่ 7 : การเปิดรับและตอบกลับอีเมล์จากผู้ที่ไม่รู้จักอาจมีการแฝงไวรัส

คำถามที่ 8 : การดักจับข้อมูลรหัสผ่านแล้วนำไปใช้หรือขายต่อ

กรณีศึกษาเกี่ยวกับธุรกิจออนไลน์

กรณีศึกษาปัญหาจากเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจออนไลน์


กรณีที่ 1:  การเจาะเข้าระบบงาน (Hack) โดยตรงและทำความเสียหายให้กับลูกค้า

กรณีที่ 2  การดักจับข้อมูลจากสายสัญญาณขณะที่ลูกค้ากระทำธุรกรรม โดยการทำสำเนารหัสจากอุปกรณ์ Skimmer ที่ถูกติดตั้งกับ Machine ที่ใช้ทำธุรกรรม

กรณีที่ 3การกระทำให้หลงเชื่อเพื่อให้ลูกค้ากระทำธุรกรรมโดยวิธี โอนเงิน หรือสั่งจ่ายผ่านบัตรเครดิต

กรณีที่ 4การเปิดรับและตอบกลับอีเมล์จากผู้ที่ไม่รู้จัก อาจมีการแฝงไวรัส

กรณีที่ 5 การดักจับข้อมูลรหัสผ่าน แล้วนำไปใช้หรือขายต่อ

กรณีที่ 6การใช้บริการธนาคารออนไลน์ผ่านร้านอินเตอร์เน็ตคาเฟ่

กรณีที่ 7การส่งข้อมูลส่วนตัวหรือข้อมูลทางการเงินให้กับบุคคลอื่นที่ไม่รู้จัก

กรณีที่ 8การสั่งซื้อ In-app purchase เป็นการสั่งซื้อสินค้าประเภทแพ็คเกจเพิ่มเงิน ทอง เพชร หรือ Item ต่างๆ ที่ใช้ในเกม แต่เมื่อกดสั่งซื้อชำระผ่านบัตรเครดิต ก็มีข้อความว่าการซื้อไม่สำเร็จ กรุณาทำรายการใหม่ เมื่อกดลองใหม่ก็มีการเรียกเก็บเงินทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อโดยที่เราไม่ได้รับสินค้านั้นๆ

กรณีที่ 9 : คดีระหว่างนายชิโมมูระ (Shimomura) และนายมิทนิค (Mitnick) เกิดขึ้นในวันคริสต์มาส ปี ค.ศ. 1994 โดยนายชิโมมูระ นักฟิสิกส์ของศูนย์ประมวลผลซุปเปอร์คอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (San Diego High Performance Supercomputer Center) ณ เมืองซานิดเอโก (San Diego) เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยในระบบคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในเรื่องการป้องกันการเจาะเข้ามาในระบบ หลายปีต่อมาเขาได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับจุดอ่อนของระบบการรักษาความ ปลอดภัยในระบบต่าง ๆไว้มากมาย รวมทั้งการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ป้องกันการเจาะข้อมูลด้วยในวันคริสต์มาส ขณะที่นายชิโมมูระเล่นสกีอยู่ก็มีคนแอบเจาะเข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ที่บ้านของ เขาซึ่งมีระบบรักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา โดยผู้ลักลอบเข้ามาได้แอบทำสำเนา (Copy) แฟ้มข้อมูลนับสิบแฟ้ม และมีคำด่าอย่างหยาบคายทิ้งไว้ สาเหตุที่นายชิโมมูระพบว่ามีคนเจาะข้อมูลก็เนื่องจากตัวเขาเองได้ให้เครื่อง คอมพิวเตอร์ที่บ้านทำสำเนา (Copy) ข้อมูลสำรองโดยอัตโนมัติและนำไปไว้ที่เครื่องซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ที่เมือง ซานดิเอโกด้วย ต่อมานักศึกษาที่ศูนย์ดังกล่าวสังเกตเห็นว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงระบบการ ล็อกแฟ้มข้อมูล (Log files system) เกิดขึ้น จึงรู้ว่ามีบางสิ่งเกิดขึ้นแล้ว นักศึกษาคนนั้นจึงรีบไปแจ้งนายชิโมมูระทันที นายชิโมมูระจึงตัดสินใจประกาศต่อสาธารณชนเพื่อเรียกร้องและขอความช่วยเหลือ ในการจับผู้ร้ายดังกล่าว นายชิโมมูระพยายามวิเคราะห์ถึงจุดอ่อนของระบบของตน และพบว่าการเจาะข้อมูลดังกล่าวเป็นความสามารถของผู้เจาะข้อมูลที่สามารถปลอก แหล่งที่อยู่ (Source address) ของกลุ่มข้อมูล (Packet) ที่ถูกส่งไปยังระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งคอมพิวเตอร์บางระบบจะทำการตัดสินใจว่าจะรับคำสั่งจากระบบอื่นที่ส่งชุด คำสั่งมาหรือไม่ โดยดูจากแหล่งที่อยู่ของข้อมูล (Source address) และอาจจะเป็นที่จุดอ่อน (Vulnerability) ของระบบด้วยก็ได้ นายชิโมมูระมีระบบการรักษาความปลอดภัยอย่างดีเยี่ยม ซึ่งผู้เจาะข้อมูลเข้าไปได้พยายามทำให้กลุ่มข้อมูล (Packet) มาจากระบบที่สามารถติดต่อได้จริง
นายชิโมมูระได้ตีพิมพ์ผลการวิเคราะห์อย่างละเอียด เพื่อต้องการความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ในการจับผู้กระทำผิด และในอีกหนึ่งเดือนต่อมา เหตุการณ์เช่นเดียวกันที่เกิดขึ้นกับนายชิโมมูระก็ได้เกิดขึ้นกับระบบการ บริการแบบเชื่อมตรง (On-line) ที่เรียกว่า The Well ที่มีผู้นิยมใช้บริการอย่างกว้างขวางในเขตอ่าวซานฟรายซิสโก ผู้ดูแลระบบ The Well สังเกตว่ามีแฟ้มข้อมูลเข้ามาในจานเก็บข้อมูลที่ใช้สำหรับ Computer, Freedom, and Privacy (CFP) Group เหตุการณ์ดังกล่าวดูจะไม่ค่อยสมเหตุสมผลนัก เนื่องจากกลุ่ม CFP ไม่ค่อยได้ใช้งานระบบดังกล่าว ต่อมานักเขียนโปรแกรมที่ช่วยดูแลกลุ่ม CFP ผู้ซึ่งเคยอ่านเรื่องราวที่เกิดกับนายชิโมมูระสังเกตเห็นว่าแฟ้มข้อมูลที่ หลั่งไหลเข้ามาเหมือนกับแฟ้มข้อมูลที่ถูกขโมยมาจากระบบคอมพิวเตอร์ของนายชิ โมมูระ
เมื่อนายชิโมมูระได้รู้เบาะแสว่าผู้ที่เคยเจาะระบบคอมพิวเตอร์ของตนได้ใช้ วิธีเดียวกันนี้กับระบบ The Well เช่นกัน เขาได้เขียนซอฟต์แวร์เพื่อจับตาดูการทำงานของระบบ The Well และรอว่าเมื่อไรจะมีผู้เจาะเข้ามาอีก โดยการตรวจสอบกลุ่มข้อมูล (Packet) ที่เข้ามาในระบบ The Well รวมทั้งทำการบันทึกการพิมพ์ (Keystrokes) ของผู้แอบเจาะข้อมูล การจับตาดูผู้กระทำผิดครั้งนี้อาจได้รับเบาะแสว่าบุคคลผู้นี้เป็นใคร และจะจับตัวได้อย่างไร หากผู้กระทำผิดเข้ามาเพียงชั่วครู่เดียวก็อาจไม่พบเบาะแสดังกล่าว แต่ก็มีความเชื่อว่าบุคคลที่เคยกระทำความผิดมักจะทำซ้ำเสมอ
อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นกับนายชิโมมูระ และ The Well ได้เกิดซ้ำอีกเป็นครั้งที่สาม
ที่บริษัทโมโตโรล่า (Motorola) ผู้ผลิตชิปรายใหญ่อีกบริษัทหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่แล้วบริษัทผู้ผลิตโทรศัพท์มือถือจะเป็นเป้าหมายสำคัญของนักเจาะระบบ แต่คราวนี้ได้มีการตั้งทีมสอบสวน ซึ่งนอกจากจะใช้โปรแกรมตรวจจับของนายชิโมมูระที่เคยใช้กับระบบ The Well แล้ว ทีมงานสอบสวนยังพบสำเนาของโปรแกรมควบคุมโทรศัพท์มือถือระบบเซลลูล่าร์หรือ ไร้สายของโมโตโรล่าด้วย ต่อมาเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ได้ขยายวงกว้างออกไปเกิดกับระบบ Netcom ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการต่อเชื่อมตรง (On-line) รายใหญ่แห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกา ซึ่งผู้เจาะข้อมูลบังเอิญโชคดีที่สามารถทำสำเนา (Copy) ข้อมูลที่เป็นหมายเลขเครดิตการ์ดของสมาชิกจาก Netcom เกือบ 20,000 ราย และผู้ให้บริการรายอื่น ๆ ด้วย ผู้ใช้บริการระบบ Netcom ในสหรัฐอเมริกาล้วนแต่ได้รับความเดือดร้อนจากนักเจาะข้อมูลตัวฉกาจนี้ทั้งสิ้น

กรณีที่ 10 : ความไม่ปลอดภัยของข้อมูล ขาดการตรวจสอบการใช้บัตรเครดิตบน Internet ข้อมูลบนบัตรเครดิตอาจถูกดักฟังหรืออ่าน เพื่อเอาชื่อและหมายเลขบัตรเครดิตไปใช้โดยที่เจ้าของบัตรเครดิตไม่รู้ตัวได้

กรณีที่ 11 : ในกรณีที่ผู้ซื้อและผู้ขายอยู่คนละประเทศกันจะใช้กฎหมายของประเทศใดเป็นหลัก หากมีการกระทำผิดกฎหมายในการการกระทำการซื้อขายลักษณะนี้ ความยากลำบากในการติดตามการซื้อขายทางInternet อาจทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเรียกเก็บภาษีเงินได้และภาษีศุลกากร

กรณีที่ 12 : การทำธุรกรรมโดยที่ไม่ทราบแน่ชัดเกี่ยวกับข้อมูลของผู้ที่ติดต่อด้วย ว่าเป็นผู้บรรลุนิติภาวะหรือไม่ วิกลจริต หรือ เป็นผู้ถูกอนุบาลหรือไม่ และการไม่ทราบแหล่งที่อยู่ที่แท้จริง

กรณีที่ 13 : การฟ้องร้องเป็นไปได้ยากลำบาก เนื่องจากไม่มีการทำสัญญาซื้อ-ขายเป็นลายลักษณ์อักษร

กรณีที่ 14 : ในการใช้เลขบัตรประชาชนในการทำธุรกรรมซื้อขาย ถ้ามีการเชื่อมข้อมูลต่างๆโดยยึดเลขบัตรประชาชนเป็นหลัก อาจทำให้มีการเกิดการล่วงละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลได้

กรณีที่ 15 : บริษัท Loxinfo ได้ทำการจัดเก็บข้อมูลบัตรเครดิต ของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ e-Commerce แล้วต่อมาได้ถูกนักเจาะระบบข้อมูลชาวอังกฤษเจาะระบบ และนำข้อมูลดังกล่าวไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต

กรณีที่ 16 : บริษัท iPremier อยู่ใน Seattle, Washington ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 1997 โดยนักศึกษา 2 คนจาก Swartmore College เป็นบริษัท e-commerce หนึ่งในไม่กี่บริษัทที่ประสบความสำเร็จ ธุรกิจหลักๆ คือการขายสินค้าหรูหรา หายาก และเก่าแก่ให้กับลูกค้าชั้นสูงบนอินเตอร์เน็ต เมื่อเริ่มการก่อตั้ง iPremier สามารถขึ้นเป็นหนึ่งในสองอันดับต้นๆ ของบริษัทที่ทำธุรกิจเดียวกัน ยอดขายและกำไรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับราคาหุ้นของบริษัท ทันทีที่บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อปลายปี 1998 ราคาหุ้นพุ่งขึ้นเป็น 3 เท่า เมื่อพิจารณาแล้วดูเหมือนว่า iPremier เป็นบริษัทที่มีการทำงานโดยการพัฒนารูปแบบทางธุรกิจ และกลยุทธ์เป็นอย่างดี แต่อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนจากการที่บริษัทจัดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน และการดำเนินการทางด้านระบบสารสนเทศที่ไม่ดี ทำให้เกิดช่องโหว่ อีกทั้งไม่ได้ตระหนักถึงจนกระทั่งเกิดปัญหาขึ้น หลังก่อตั้งบริษัทมาเกือบ 9 ปี วันที่ 12 มกราคม 2009 iPremier ได้เผชิญปัญหาหลักที่ใหญ่ และท้าทาย Website ของ iPremier ไม่สามารถเข้าได้ และมีความเป็นไปได้ที่จะถูกโจมตีจากการถูกเจาะเข้าสู่ระบบ เป็นเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จากข้อมูลในกรณีศึกษานี้ไม่สามารถบอกได้ว่าการโจมตีเกิดขึ้นจากการสุ่มหรือ ตั้งใจเฉพาะเจาะจง ทั้งนี้ลูกค้าของ iPremier ไม่สามารถเข้าถึง website ได้ และมีความเป็นไปได้มากที่จะเกิดช่องโหว่ทางด้านความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้อาจทำลายภาพพจน์ ชื่อเสียง และความน่าเชื่อถือของบริษัท อีกหนึ่งปัญหาหลักจากกรณีศึกษาคือ iPremier มีการจ้างบริการการดำเนินงาน และระบบสารสนเทศอย่างเต็มรูปแบบจากภายนอกชื่อ Qdata ซึ่งดูเหมือนว่า มาตรฐานและคุณภาพการบริการอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ เมื่อเทียบกับระดับของคุณภาพและบริการที่ลูกค้า iPremier สมควรได้รับ

กรณีที่ 17 : การซื้อ-ขายสินค้ากัน แต่สินค้าที่ได้รับไม่ตรงตามข้อตกลง ตามที่สั่งไว้

กรณีที่ 18 : การตัดเงินผ่านบัตรเครดิต/เดบิตซ้ำซ้อน หรือตัดเกินยอดที่เป็นจริง

กรณีที่ 19 : การเขียนแสดงข้อความอันเป็นเท็จเพื่อขายสินค้าหรือ บริการ และเมื่อมีคนเข้าไปทำธุรกรรมและซื้อสินค้าเหล่านั้น แต่ไม่ได้รับสินค้า  กรณีดังกล่าว จึงเกิดปัญหา และสร้างความเสียหายให้แก่ผู้ซื้อสินค้าเป็นจำนวนมาก และความเสียหายดังกล่าวอาจเป็นเงินจำนวนสูง ถ้าสินค้านั้นเป็นที่นิยม เช่น ตุ๊กตาที่สั่งจากต่างประเทศ(เฟอร์บี้,บลายธ์) หรือสินค้าพรีออร์เดอร์นำเข้าจากต่างประเทศต่างๆ เป็นต้น














บรรณานุกรม
http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:pDi5xQYkVS8J:www.coj.go.th/iad/userfiles/file/E-Payment.doc+&cd=6&hl=th&ct=clnk&gl=th
http://elib.coj.go.th/Article/d47_2_2.pdf
http://jamlong-patthong.blogspot.com/2013/05/9-17.html
web.yru.ac.th/~pimonpun/4123506/.../Data%20Protection%20Law.doc
http://knowledge.vayoclub.com/?p=791
http://www.siamrath.co.th/web/?q=ปัญหาการฉ้อโกงทาง-online