วันอังคารที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2557

พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์

ภาพโดย
กลุ่ม KM SYSTEM section 005
   เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนวิชา 954260 KM SYSTEM

กฎหมายที่เกี่ยวกับธุรกิจอีเล็กทรอนนิกส์

ธุรกิจออนไลน์ เป็นรูปแบบหนึ่งของการประกอบธุรกิจ ซึ่งมีทั้งผู้ประกอบการที่ดีมีจริยธรรม และ ผู้ประกอบการที่หวังเพียงผลกำไร แม้กระทั่งผู้บริโภคเองก็มีการใช้เทคนิคกลยุทธ์หรือหากทุกฝ่ายดำเนินการด้วยความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมหรือความไม่ถูกต้องในการดำเนินธุรกรรม จำเป็นต้องมีกฎ ระเบียบ เพื่อเป็นกติกาให้ทุกฝ่ายปฏิบัติอย่างเป็นธรรมส่งผลต่อการเติบโตของธุรกิจและเศรษฐกิจของประเทศอย่างยั่งยืน

 กฎ ระเบียบธุรกรรมทางออนไลน์

- กฎหมายทะเบียนพาณิชย์ กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจออนไลน์ทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ทั้งบุคคลและนิติบุคคล ต้องจดทะเบียนพาณิชย์พาณิชย์กิจพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ณ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ (ที่ว่าการเขต กทม / อบต / เทศบาล / เมืองพัทยา )

- กฎหมายขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจขายสินค้าทางออนไลน์ที่เข้าข่ายการตลาดแบบตรง ต้องจดทะเบียนการประกอบธุรกิจกับสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ก่อนทำการค้า
- กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ห้ามมิให้ปฏิเสธในการมีผลผูกพันและการบังคับใช้กฎหมายของข้อความที่อยู่ในรูปข้อมูล อีเล็กทรอนิกส์หน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ครอบคลุมถึงระบบคอมพิวเตอร์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์ ผู้ให้บริการ หรือแม้แต่ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ โดยผู้ใช้อินเทอร์เน็ตข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน และผู้ให้บริการทางอินเทอร์เน็ตจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อจะให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชนหน่วยงานรับผิดชอบ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ
- กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายที่มีหลักการเพื่อคุ้มครองสิทธิความเป็นส่วนตัว อันเป็นสิทธิที่รัฐธรรมนูญรับรอง และกำหนดหลักการพื้นฐานในการให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม กฎ ระเบียบการประกอบธุรกิจทั่วไป
- ประมวลกฎหมายอาญา กำกับดูแลการประกอบการที่มีเจตนาทุจริต ฉ้อโกง หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริง ที่หลอกลวงเอาทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สาม หน่วยงานรับผิดชอบ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
- กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค กำกับดูแลการโฆษณาต้องไม่ใช้ข้อความที่เป็นการไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค มีเจตนาก่อให้เกิดการเข้าใจผิด ไม่ว่าข้อความดังกล่าวจะเป็นข้อความที่เกี่ยวกับ

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์  คือ
1.การกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์ อันทำให้เหยื่อได้รับความเสียหาย และผู้กระทำได้รับผล ประโยชน์ตอบแทน
2.การกระทำผิดกฎหมายใด ๆ ซึ่งใช้เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือและในการสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เพื่อนำผู้กระทำผิดมาดำเนินคดีต้องใช้ความรู้ทางเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน


     การประกอบอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศจำนวนมหาศาล อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์จึงจัดเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ หรือ อาชญากรรมทางธุรกิจรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ

  • มีรูปแบบอะไรบ้าง

ปัจุบันทั่วโลก ได้จำแนกประเภทอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ได้
9 ประเภท (ตามข้อมูลคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจร่างกฎหมายอาชญากรรมทาคอมพิวเตอร์)
1. การขโมยข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตรวมถึงการขโมยประโยชน์ในการลักลอบใช้บริการ
2. การปกปิดความผิดของตัวเอง โดยใช้ระบบการสื่อสาร
3. การละเมิดลิขสิทธิ์ ปลอมแปลงรูปแบบเลียนแบระบบซอฟแวร์โดยมิชอบ
4. การเผยแพร่ภาพ เสียง ลามก อนาจาร และข้อมูลที่ไม่เหมาะสม
5. การฟอกเงิน
6. การก่อกวน ระบบคอมพิวเตอร์ เช่น ทำลายระบบสาธารณูปโภค  เช่น      ระบบจ่ายน้ำ จ่ายไฟ จราจร
7. การหลอกลวงให้ร่วมค้าขาย หรือ ลงทุนปลอม (การทำธุรกิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย)
8. การลักลอบใช้ข้อมูลเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ในทางมิชอบเช่น การขโมยรหัสบัตรเครดิต
9. การใช้คอมพิวเตอร์ในการโอนบัญชีผู้อื่นเป็นของตัวเอง


ประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆ
อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Cyber-Crime) เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายโดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อโจมตีระบบคอมพิวเตอร์และข้อมูลที่อยู่บนระบบดังกล่าว ส่วนในมุมมองที่กว้างขึ้น “อาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับคอมพิวเตอร์” หมายถึงการกระทำที่ผิดกฎหมายใดๆ ซึ่งอาศัยหรือมีความเกี่ยวเนื่องกับระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่าย อย่างไรก็ตาม อาชญากรรมประเภทนี้ไม่ถือเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์โดยตรงในการประชุมสหประชาชาติครั้งที่ 10 ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและการปฏิบัติต่อผู้กระทำผิด (The Tenth United Nations Congress on the Prevention of Crime and the Treatment of Offenders) ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเวียนนา เมื่อวันที่ 10-17 เมษายน 2543ได้มีการจำแนกประเภทของอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ โดยแบ่งเป็น 5 ประเภท คือ การเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาตการสร้างความเสียหายแก่ข้อมูลหรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์การก่อกวนการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายการยับยั้งข้อมูลที่ส่งถึง/จากและภายในระบบหรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และการจารกรรมข้อมูลบนคอมพิวเตอร์โครงการอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และการโจรกรรมทรัพย์สินทางปัญญา (Cyber-Crime and Intellectual Property Theft) พยายามที่จะเก็บรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูล และค้นคว้าเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ 6 ประเภท ที่ได้รับความนิยม ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อประชาชนและผู้บริโภค นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับขอบเขตและความซับซ้อนของปัญหา รวมถึงนโยบายปัจจุบันและความพยายามในการปัญหานี้


อาชญากรรม 6 ประเภทดังกล่าวได้แก่

1. การเงิน – อาชญากรรมที่ขัดขวางความสามารถขององค์กรธุรกิจในการทำธุรกรรม อี-คอมเมิร์ซ(หรือพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์)
2. การละเมิดลิขสิทธิ์ – การคัดลอกผลงานที่มีลิขสิทธิ์ ในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและอินเทอร์เน็ตถูกใช้เป็นสื่อในการก่ออาชญากรรม แบบเก่า โดยการโจรกรรมทางออนไลน์หมายรวมถึง การละเมิดลิขสิทธิ์ ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อจำหน่ายหรือเผยแพร่ผลงานสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์
3. การเจาะระบบ – การให้ได้มาซึ่งสิทธิในการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายโดยไม่ได้รับอนุญาต และในบางกรณีอาจหมายถึงการใช้สิทธิการเข้าถึงนี้โดยไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้การเจาะระบบยังอาจรองรับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ในรูปแบบอื่นๆ (เช่น การปลอมแปลง การก่อการร้าย ฯลฯ)
4. การก่อการร้ายทางคอมพิวเตอร์ – ผลสืบเนื่องจากการเจาะระบบ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว เช่นเดียวกับการก่อการร้ายทั่วไป โดยการกระทำที่เข้าข่าย การก่อการร้ายทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-terrorism) จะเกี่ยวข้องกับการเจาระบบคอมพิวเตอร์เพื่อก่อเหตุรุนแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน หรืออย่างน้อยก็มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความหวาดกลัว
5. ภาพอนาจารทางออนไลน์ – ตามข้อกำหนด 18 USC 2252 และ 18 USC 2252Aการประมวลผลหรือการเผยแพร่ภาพอนาจารเด็กถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และตามข้อกำหนด 47 USC 223 การเผยแพร่ภาพลามกอนาจารในรูปแบบใดๆ แก่เยาวชนถือเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมาย อินเทอร์เน็ตเป็นเพียงช่องทางใหม่สำหรับอาชญากรรม แบบเก่า อย่างไรก็ดี ประเด็นเรื่องวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการควบคุมช่องทางการสื่อสารที่ครอบคลุม ทั่วโลกและเข้าถึงทุกกลุ่มอายุนี้ได้ก่อให้เกิดการถกเถียงและการโต้ แย้งอย่างกว้างขวาง
6. ภายในโรงเรียน – ถึงแม้ว่าอินเทอร์เน็ตจะเป็นแหล่งทรัพยากรสำหรับการศึกษาและสันทนาการ แต่เยาวชนจำเป็นต้องได้รับทราบเกี่ยวกับวิธีการใช้งานเครื่องมืออันทรงพลังนี้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบ โดยเป้าหมายหลักของโครงการนี้คือ เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้เรียนรู้เกี่ยวกับข้อกำหนดทางกฎหมาย สิทธิของตนเอง และวิธีที่เหมาะสมในการป้องกันการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด

ความผิดตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ 2550

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้การประกาศใช้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 ในด้านการประกอบธุรกิจด้านออนไลท์จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากโดยความในพรบ.คอมพิวเตอร์ 2550 นั้นได้ระบุความผิดไว้ดังนี้
1.มาตรา 5 การเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
 มีความหมายว่าถ้าเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่อนุญาตให้เข้าระบบคอมพิวเตอร์ของเขา แล้วเราได้มีการแอบเข้าไปในระบบของผู้อื่นถือเป็นความผิด
2.มาตรา 6 การล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง : ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึง   ระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี   หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
   มีความหมายว่าแอบทราบถึงรหัสป้องกันของผู้อื่นแล้วนำมาเผยแพร่ให้ผู้อื่นทราบ
3.มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          มีความหมายว่า บุคคลอื่นซึ่งได้เข้าไปถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
        4.มาตรา 8 การดักข้อมูลโดยมิชอบ : ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์   และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น    มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า บุคคลใดแอบดักรับฟังข้อมูลผู้อื่นมีความผิด
5.มาตรา 9 การแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น   โดยมิชอบต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า ห้ามดัดแปลงทำลายแก้ไขเปลี่ยนแปลง ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นมีความผิด
     6.มาตรา 10 รบกวน ขัดขวาง ระบบคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง  หรือรบกวน  จนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่า ห้ามมิให้ปล่อย Multiware เช่น virus, Trojan, worm เข้าระบบคอมพิวเตอร์คนอื่นจนทำให้ได้รับความเสียหาย
7.มาตรา 11 สแปมเมล์ (Spam mail) : ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่น  โดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว  อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่น  โดยปกติสุข ต้องระวางโทษไม่เกินหนึ่งแสนบาท
มีความหมายว่าห้ามมิให้ส่งข้อมูลหรือส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้อื่นโดยที่ปกปิดแหล่งที่มาขอผู้ส่ง ซึ่งจดหมายนั้นเป็นการรบกวนผู้ใช้คอมพิวเตอร์
8.มาตรา 12 การกระทำความผิดต่อประชาชนโดยทั่วไป/ความมั่นคง : ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9 หรือมาตรา 10
1.  ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนไม่ว่าความเสียหายนั้นจะเกิดขึ้นในทันที หรือในภายหลังและไม่ว่าจะเกิด    ขึ้นพร้อมกัน   หรือไม่ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสิบปี และปรับไม่เกินสองแสนบาท
2.  เป็นการกระทำโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์   หรือระบบคอมพิวเตอร์ที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะหรือเป็นการกระทำต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์  ที่มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี   และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท ถ้าการกระทำความผิดตาม (2) เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สิบปีถึงยี่สิบปี
มีหมายความว่า ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 9กับ10แล้วนั้นเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนหรือเกิดผลแก่ความมั่นคงของชาติต้องรับผิดเพิ่มตามมาตรา 12
9.มาตรา 13 การจำหน่าย/เผยแพร่ชุดคำสั่งเพื่อใช้กระทำความผิด : ผู้ใดจำหน่าย   หรือเผยแพร่ชุดคำสั่ง  ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิด  ตามมาตรา มาตรา มาตรา มาตรา มาตรา 9 มาตรา 10  หรือมาตรา 11 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มีความหมายว่าห้ามจำหน่ายโปรแกรมหรือชุดข้อมูลที่จะเป็นเครื่องมือกระทำความผิดตามมาตรา 5,6,7,8,9,10และ11
10.มาตรา 14 นำเข้า/ปลอม/เท็จ/ภัยมั่นคง/ลามก/ส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ : ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้  ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์   ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน   หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์   อัน เป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ  โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด  ๆ   อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร   หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ  ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชน   ทั่วไปอาจเข้า ถึงได้
เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
มีความหมายว่า ห้ามมิให้นำเข้าซึ่งขอมูลที่เป็นการปลอม หรือเป็นเท็จ หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงหรือลามกสู่ระบบคอมพิวเตอร์
11.มาตรา 15 ความรับผิดของผู้ให้บริการ : ผู้ใดให้บริการ ผู้ใดจงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา14 ในระบบคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในความควบคุมของตน ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทำความผิดตามมาตรา 14
มีความหมายว่า ห้ามผู้ใด ให้บริการ จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการกระทำความผิดตามมาตรา14ในระบบคอมพิวเตอร์ของตนเองหรืออยู่ที่ตนเอง
มาตรา 16 การเผยแพร่ภาพ ตัดต่อ/ดัดแปลง : ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น  และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือวิธีการอื่นใด  ทั้งนี้  โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง  ถูกดูหมิ่น  ถูกเกลียดชัง  หรือได้รับความอับอาย   ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้ากระทำตามวรรคหนึ่งเป็นการนำเข้าข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยสุจริต  ผู้กระทำไม่มีความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นความผิดอันยอมความได้  ถ้าผู้เสียหายในความผิดตามวรรคหนึ่งตามเสียก่อนร้องทุกข์ ให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้เสียหายร้องทุกข์ได้ และให้ถือว่าเป็นผู้เสียหาย ความผิดอื่นใดอาจไม่ได้รับโทษตาม พ.ร.บ. นี้เพียงอย่างเดียวต้องดูองค์ประกอบ  และกฎหมายฉบับอื่นประกอบด้วย  เช่น  พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์พ.ร.บ.  ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์, ความผิดทางแพ่ง, อาญา
มีความหมายว่า ห้ามนำภาพที่ได้ตัดต่อดัดแปลงภาพของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์





[1] file:///C:/Users/User/Downloads/5099%20(1).pdf
[2] http://www.ictkm.info/content/category/10.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น